วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 8


เรื่องที่อาจารย์สอนในห้องเรียน
          1.การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
          2.
ให้ดูภาพที่เด็กวาด  สื่อถึงอะไร  สะท้อนอะไร  เห็นอะไรบ้าง
          3.
ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
          4.
สภาพแวดล้อมมีอิทธิพลต่อเด็ก
          5.
ภาษาแสดงถึงอารมณ์
          6.
ความหมายของภาษา
          7.
องค์ประกอบของภาษา


          8.
สั่งงาน  ให้คิดกิจกรรมที่เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางภาษาให้กับเด็กมาคนละ 1 กิจกรรม
  

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ (สอนชดเชยครั้งที่ 7)

เรื่องที่อาจารย์สอนในห้องเรียน
          1.ให้สมัครโทรทัศน์ครู
          2.ให้นำเสนอวีดีโอ

          3.คุณค่าของนิทาน
          4.การเล่านิทาน
          5.โครงสร้างของนิทาน
          6.ความสำคัญของดนตรี
          7.กิจกรรมสร้างสรรค์
          8.องค์ประกอบของภาษา
          9.อาจารย์สั่งงานให้ลิงค์วรรณกรรมพื้นฐาน  การจัดการศึกษาปฐมวัย  พร้อมสรุป

สรุป

เรื่อง วรรณกรรมสำหรับเด็ก
             วรรณกรรมสำหรับเด็ก คือ สื่อทุกอย่างที่เกี่ยวกับเด็ก มีผลต่อเด็กมาก มีความสนุกสนานเพลิดเพลิน อาทิเช่น หนังสือ ซึ่ง แบ่งเป็นหมวดย่อยๆอีกหลายอย่าง ด้วยกัน หนังสือภาพ หนังสือที่มีภาพและประโยค เรื่องราว ดำเนินไปด้วยกัน เช่น หนังสือบันเทิงคดีสำหรับเด็ก หนังสือสารคดีสำหรับเด็ก นวนิยาย นิยาย เรื่องสั้น บทละคร โทรทัศน์ วิทยุ รายการสำหรับเด็ก

ความหมายของวรรณกรรมสำหรับเด็ก
                วรรณกรรมสำหรับเด็กเป็น หนังสือที่เขียนขึ้นเพื่อให้เด็กอ่าน หรือฟังอย่างเหมาะสมกับวัยของเด็ก โดยเนื้อหาสาระสอดคล้องกับความสนใจของเด็ก




        วัตถุประสงค์ในการสร้างวรรณกรรมสำหรับเด็ก

               1. เพื่อปลูกฝังทัศนคติ ค่านิยมและวัฒนธรรมอันดีงาม

               2. เพื่อช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการและเชาวน์ปัญญา

               3. เพื่อให้เด็กได้รับความบันเทิงใจ ความเพลิดเพลิน และความสนุกสนาน มีสุขภาพจิตที่ดี

               4. เพื่อช่วยให้เกิดความพร้อมในการอ่าน

               5. เพื่อสร้างทักษะในการอ่าน และเป็นสื่อนำไปสู่การแสวงหาความรู้และประสบการณ์ด้านต่าง ๆ 

               6. เพื่อสร้างลักษณะนิสัยอันดีงาม รวมทั้งลักษณะนิสัยในการอ่าน รักการอ่าน 

               7. เพื่อให้เด็กได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

               8. เพื่อช่วยให้ชีวิตของเด็กเกิดโลกทรรศน์ มีความรอบรู้กว้างไหล ทันโลก ทันเหตุการณ์

               9. เพื่อถ่ายทอดมรดกวัฒนธรรม และสร้างศรัทธาในเอกลักษณ์ของไทย อันเป็นผลดีแก่การสร้างความมั่นคงของชาติบ้านเมือง

             10. เพื่อให้เห็นคุณค่าของความเป็นชาติไทย

คุณค่าของวรรณกรรมสำหรับเด็ก


         มีผู้แสดงทัศนะเกี่ยวกับคุณค่าของหนังสือสำหรับเด็กไว้หลายท่านด้วยกันดังนี้

               1. ช่วยให้เด็กเกิดความพร้อม ความคล่องแคล่ว และเสริมสร้างให้รักการอ่านใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

               2. ช่วยเสริมทักษะและเสริมสร้างบุคลิกลักษณะนิสัย ค่านิยม ทัศนคติ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมอันดีงาม ซึ่งเป็นสื่อนำไปสู่การแสวงหาความรู้และประสบการณ์

ต่าง ๆ 

               3. ช่วยให้เด็กได้รับความบันเทิงและตอบสนองความสนใจของเด็กด้วยการอ่าน

               4. ช่วยให้เด็กเข้าใจตัวเอง และผู้อื่น รวมถึงสิ่งที่ผ่านมาในอดีต ข่าวสารความรู้ ความคิด และคำอธิบายเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่ถูกต้อง อันจะทำให้เกิดโลกทรรศน์กว้างไกล มีความรอบรู้ ทันโลก ทันเหตุการณ์

               5. ช่วยลับสมองและส่งเสริมเชาวน์ปัญญาให้กับเด็ก

               6. ช่วยเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้สึกมั่นคงในชีวิต มีความหวังในชีวิต

               7. ถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม สร้างศรัทธาในเอกลักษณ์ของชาติให้แก่เด็กซึ่งจะทำให้เด็กเห็นคุณค่าของความเป็นชาติและสถาบันที่สำคัญของชาติ

               8. เป็นแหล่งบันดาลใจให้เด็กเกิดจินตนาการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ประเภทวรรณกรรมสำหรับเด็ก

         1. การแบ่งประเภทมีลักษณะการถ่ายทอด 2 ประเภท คือ

               1.1 วรรณกรรมสำหรับเด็กมุขปาฐะ 

               1.2 วรรณกรรมสำหรับเด็กลายลักษณ์ 

     ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวรรณกรรมสำหรับเด็ก : http://thaiteachers.tv/vdo2.php?id=668

 การศึกษาปฐมวัย


          การจัดการศึกษาปฐมวัยเป็นการจัดการศึกษาก่อนภาคบังคับที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในอันที่จะช่วยส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย ได้รับการพัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม สอดคล้องกับวัยและพัฒนาการ ทั้งนี้เนื่องจากเด็กปฐมวัยหมายถึงเด็กที่มีอายุระหว่าง 0-6 ขวบนั้น เป็นวัยที่มีพัฒนาการทุกด้าน เจริญเติบโตในอัตราที่สูงสุด โดยเฉพาะระบบประสาทและสมองซึ่งเจริญเติบโตได้ถึงร้อยละ 80 ของผู้ใหญ่ เป็นระยะที่เกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุดในชีวิต ศักยภาพแห่งการเรียนรู้และพัฒนาการด้านต่างๆ สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มที่ หากได้รับการส่งเสริมอย่างถูกต้อง นักจิตวิทยาและนักการศึกษาทั่วไปต่างเชื่อว่า ประสบการณ์ที่เด็กปฐมวัยได้รับปัจจัยเป็นพื้นฐานของการพัฒนาการทุกด้านต่อเนื่องไปจนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่ การวางรากฐานที่ดีให้กับเด็กปฐมวัย จึงเท่ากับเป็นการเตรียมและสร้างพลเมืองที่ดีมีคุณภาพให้กับประเทศชาตินั่นเอง อาจกล่าวได้ว่าจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาปฐมวัย ก็เพื่อสร้างเสริมพัฒนาการทุกด้านให้เจริญเติบโตถึงขีดสุดของศักยภาพและเตรียมความพร้อมเพื่อการเรียนรู้และชีวิต โดยคุณสมบัติที่มุ่งสร้างเสริม คือ กระบวนการคิด กระบวนการกลุ่มคุณธรรม จริยธรรม วิถีชีวิตไทย สิ่งแวดล้อมและค่านิยม ความเสมอภาค

        ดังนั้น การจัดการศึกษาปฐมวัยจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะเป็นการวางรากฐานเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ อีกทั้งยังมีความสำคัญในฐานะที่เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการการจัดการศึกษาของมนุษย์อันเป็นฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ การศึกษาปฐมวัยจึงเป็นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลสำหรับอนาคตของประเทศบนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และสังคมศาสตร์


ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัย http://www.thaiteachers.tv/vdo2.php?id=795




วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันนี้ไม่มีกิจกรรมการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม
*หมายเหตุ  นัดเรียนชดเชย ในวันที่ 22 มกราคม 2555


วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555